31 สิงหาคม 2552

Windows File System

รู้จักกับ Windows File System
File System คือ ระบบของไฟล์บนฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ ซึ่งในระบบวินโดวส์นั้นจะรองรับ File System 3 ชนิด คือ NTFS (New Technology File System), FAT (File Allocation Table), และ FAT32 (File Allocation Table 32)

การเลือกประเภท File System
การเลือก File System สำหรับการติดตั้ง Windows XP และ Windows Server 2003 เพื่อความปลอดภัยควรทำการติดตั้งควรติดตั้งบน File System แบบ NTFS (โดยเฉพาะ Windows Serve 2003 นั้น หากต้องการใช้งาน Active Directory ต้องติดตั้งบน File System แบบ NTFS เท่านั้น) เนื่องจากมีข้อดีดังนี้
1. สามารถรองรับขนาดของ Hard Disk ได้ใหญ่กว่า และเมื่อขนาดของ Partition เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ลดลง
2. มีระบบรักษาความปลอดภัยดีกว่า สามารถกำหนด Permission ได้จนถึงระดับไฟล์
3. มีระบบ Disk Quota ที่ใช้สำหรับการควบคุมการใช้งานพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ของ User
4. รองรับการบีบอัดข้อมูลเพื่อเพิ่มพื้นที่ความจุของ Drive
5. มีระบบการเข้ารหัสไฟล์ (File Encryption) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
6. รองรับระบบ Active Directory

Partition
พาร์ติชัน คือ พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ทำการแยกออกจากกันในทางลอจิก (Logical) พาร์ติชันมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ พาร์ติชันหลัก (Primary Partition) และ พาร์ติชันส่วนขยาย (Extended Partition)

Primary Partition
พาร์ติชันหลัก (Primary Partition) คือ พาร์ติชันที่ใช้ในการบูตระบบ (Boot) และจะใช้ในการเก็บ Master Boot Record โดยระบบปฏิบัติการจะต้องติดตั้งอยู่ในพาร์ติชันนี้เท่านั้นจึงจะสามารถทำการบูตระบบได้

Extended Partition
พาร์ติชันส่วนขยาย (Extended Partition) คือ พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ส่วนที่เหลือจากการทำพาร์ติชันหลัก พาร์ติชันส่วนขยาย นั้นจะไม่สามารถใช้ในการบูตระบบ (Boot) ได้ ส่วนมากจะใช้สำหรับเก็บข้อมูล

Physical Drive คือ ตัวฮาร์ดดิสก์ทางกายภาพ

Logical Drive คือ ชื่อทางลอจิก (Logical) ที่ใช้ในการเรียกพื้นที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ที่อยู่บนพาร์ติชันหลัก (Primary Partition) หรือ พาร์ติชันส่วนขยาย (Extended Partition) หรือ แม็พไดร์ฟของแชร์โฟลเดอร์บนระบบเครือข่าย ก็ได้

วิธีการเปลี่ยน File System ไปเป็น NTFS
การเปลี่ยน File System ไปเป็นระบบ NTFS นั้นทำได้โดยใช้คำสั่ง convert ที่คอมมานด์พร้อมพ์ดังนี้

convert drive_letter: /fs:ntfs

ตัวอย่าง ต้องการเปลี่ยนไดรฟ์ D: ทำดังนี้ C:\>convert drive_letter: /fs:ntfs

หมายเหตุ:
การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่สามารถทำในทางย้อนกลับกันได้

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น