31 สิงหาคม 2552

Reset Windows XP Administrator password

การรีเซต Administrator password ใน Windows XP
การแก้ไขปัญหาเมื่อลืมรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ (Administrator password) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows XP นั้น มีหลายวิธี เช่น การใช้ password reset disk ในกรณีที่ได้ทำการสร้าง password reset disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการรีเซตรหัสผ่านเก็บไว้ โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ที่ How to log on to Windows XP if you forget your password แต่ถ้าหากไม่ได้ทำ password reset disk เก็บไว้ ก็ยังมีวิธีการการแก้ไขแบบอื่นๆ อีก 2 วิธี ด้วยกัน คือ วิธีที่ 1. ทำการถอดรหัส Administrator password และวิธีที่ 2. ทำการรีเซต, เคลียร์ หรือ ลบ Administrator password ซึ่งทั้ง 2 วิธีที่กล่าวมานี้ จากประสบการณ์ที่เคยลองทำนะครับส่วนมากจะใช้ได้ผล โดยอาจต้องใช้โปรแกรมเครื่องมือต่างๆ เช่น Hiren Bootcd เป็นต้น และบางวิธีก็อาจต้องใช้กำลังเข้าช่วยนิดหน่อย โดยแต่ละวิธี มีรายละเอียดตามด้านล่างครับ

แบบที่ 1. ทำการถอดรหัสรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ (Decode Administrator password)
การถอดรหัส หรือ Crack รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบนั้น จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษในการทำ เช่น OPHCRACK LiveCD, LC5, Passware Password Kit, หรือ John The Ripper เป็นต้น วิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แต่มีข้อเสียคือหากมีการตั้งรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบแบบซับซ้อนมากๆ อาจใช้เวลาในการถอดรหัสนานมาก หรืออาจไม่ได้ผลเลยก็ได้ โดยมีวิธีการคร่าวๆ ดังนี้ครับ
1. บูตเครื่องด้วยแผ่นบูต OPHCRACK LiveCD แล้วเลือกทำการถอดรหัส password ของ Administrator จะได้ผลหากรหัสผ่านไม่มีความซับซ้อนมากนัก
2. ถอดถอดฮาร์ดิสก์แล้วนำไปพ่วงกับเครื่องอื่น แล้วทำการถอดรหัสรหัสผ่านของ Administrator ด้วยโปแกรมถอดรหัส เช่น LC5 หรือ Passware Password Kit ซึ่งจะได้ผลหากรหัสผ่านไม่มีความซับซ้อนมากนัก

แบบที่ 2. ทำการรีเซต, เคลียร์ หรือ ลบ รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ (Reset Administrator password)
การรีเซต, เคลียร์ หรือ ลบ รหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษในการทำ เช่น Hirens BootCD, Windows PE หรือ WINTERNAL ADMINPAK เป็นต้น วิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นกัน แต่มีข้อดีใช้กับระบบที่มีการตั้งรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบแบบซับซ้อนมากๆ ได้ผลดี ข้อเสียคือรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบจะถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือระบบยูสเซอร์ของระบบวินโดวส์จะถูกเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีวิธีการคร่าวๆ ดังนี้ครับ

1. บูตเครื่องด้วยแผ่น Windows PE / WINTERNAL ADMINPAK หรือถอดฮาร์ดิสก์แล้วนำไปพ่วงกับเครื่องอื่น แล้วทำการ ก็ก็อปปี้ไฟล์ SAM ซึ่งจะอยู่ใน Windows\Repair ไปทับไฟล์ SAM ที่อยูในWindows\System32\config วิธีการนี้ยูสเซอร์ปัจจุบันของระบบวินโดวส์จะหายไป และ Amdinistrator จะไม่มีรหัสผ่าน (เคยทดลองแล้วได้ผลทั้งบน Windows XP SP1 และ SP2 แต่ไม่ทุกครั้ง คิดว่าขึ้นอยู่กับการติดตั้ง หากมีการตั้งรหัสผ่านให้กับ Administrator ไว้ก็จะใช้ไม่ได้ผล)
2. บูตเครื่องด้วยแผ่น Hiren BootCD แล้วทำการรีเซตรหัสผ่านของ Amdinistrator ซึ่งจะทำให้สามารถล็อกออนเข้าวินโดวส์ด้วยแอคเคาท์ Administrator โดยไม่มีรหัสผ่าน

สำหรับวิธีและขั้นตอนการทำโดยละเอียดขนั้น จะนำมาโพสให้อ่านกันในโอกาสต่อๆ ไปครับ

หมายเหตุ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำวิธีการในการแก้ไขปัญหาเมื่อท่านลืมรหัสผ่านของผู้ดูและระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ท่านเองเท่านั้น ขอให้ทุกท่านนำใช้งานด้วยความระมัดระวัง และใช้ในทางที่ถูกกฏหมาย ศีลธรรมและคุณธรรมนะครับ

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Disable password expiration in Windows XP

การกำหนดให้รหัสผ่านของยูเซอร์ไม่หมดอายุ

โดยดีฟอลท์นั้น Windwos XP จะทำการตั้งค่าใน Password Policy ให้รหัสผ่านของยูเซอร์ต้องหมดอายุในทุกๆ 42 วัน และ Windows XP จะเริ่มแจ้งเตือนให้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่าน 14 วันก่อนที่มันจะหมดอายุ ในระหว่าง 14 วันนั้น ยูเซอร์สามารถเลือกได้ว่าจะทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเลยหรือว่าจะทำการเปลี่ยนในภายหลัง แต่เมื่อเลย 14 วันไปแล้วระบบจะบังคับให้ยูเซอร์ต้องทำการเปลี่ยนในทันที

การกำหนดนโยบายแบบนี้มีเหตุผลมาจากเรื่องความปลอดภัยของระบบ นั้นคือการเปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอหรือบ่อยๆ จะลดโอกาสการถูกโจมตีจาก hacker ลงได้ แต่อาจเกิดปัญหากับยูเซอร์ได้ คืออาจจะรำคาญที่ต้องเปลี่ยนรหัสในทุกๆ 42 วัน หรือบางครั้งจำรหัสผ่านไม่ได้ หรือในกรณ๊ที่แล้วร้ายขึ้นไปอีกถ้ายูเซอร์กลัวจำไม่ได้ ก็เลยเขียนรหัสผ่านแปะไว้ที่โต๊ะทำงานซะเลย (ซึ่งเหมือนการล็อกกุญแจแต่ใส่ลูกกุญแจคาไว้)

ทางแก้ไขปัญหานี้ทำได้ไม่ยาก โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.คลิกที่ Start>All Programs>Administrative Tool>Computer Management
2.คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Local Users and Groups จากนั้นคลิกที่โฟลเดอร์ Users
3.ดับเบิลคลิกที่ User ที่ต้องการ
4.บนไดอะล็อก User Properties ในแท็บ General ให้คลิกที่เชคบ็อกซ์หน้าให้มีเครื่องหมายถูก Password Never Expires
5.เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Apply และปุ่ม OK ตามลำดับเพื่อปิดไดอะล็อก User Properties หากต้องการให้รหัสผ่านของยูเซอร์อื่นๆ ไม่หมดอายุด้วย ก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ 3-5 อีกครั้ง
6.ทำการปิดหน้าต่าง Computer Management

ถึงตอนนี้ระหัสผ่านของยูเซอร์ก็จะไม่มีวันหมดอายุ

หมายเหตุ
แนะนำำให้ทำกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้าน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องความปลอดภัยมากนัก อย่างไรก็แล้วแต่จะเป็นการปลอดภัยกว่าหากเราทำการเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Microsoft Virtual PC Licensing

ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 นั้น ทางไมโครซอฟต์ ได้ให้ผู้ใช่ทั่วไป สามารถที่จะทำการดาวน์โหลด และใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นั้นคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสี่ยค่าใชจ่ายเรื่อง License ของตัวโปรแกรม Microsoft Virtual PC แต่อย่างไรก็ตาม ในการนำใช้งานจริงนั้น ผู้ใช้จำเป็นต้องมี License ของระบบปฏิบัติการ Guest OS ที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน บนระบบ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นบน Microsoft Virtual PC เหมือนกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ บนเเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง โดยราคาและค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ต้องเสียนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ต้องการติดตั้งใช้งาน เช่น ถ้าเป็น Windows XP ก็มีราคาตั้งแต่พันบาทจนถึงหมื่นกว่าบาท (นั้นคือหากคุณติดตั้ง Windows XP คุณก็ต้องทำการ Activate ด้วยเช่นกัน) แต่หากใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่อง License และสำหรับการใช้งานซอฟต์แวร์อื่นๆ บนระบบ Virtual Machine นั้น ก็จะเหมือนกันกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ ทุกประการ

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Change a user's picture in Windows XP

การเปลี่ยนภาพสัญลักษณ์ของยูเซอร์
สำหรับยูเซอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP นั้น เมื่อทำการสร้างยูเซอร์เพิ่มขึ้นมาในระบบก็จะมีภาพสัญญลักษณ์กำหนดให้กับยูเซอร์ที่สร้างขึ้น โดยดีฟอลท์แล้วจะมีภาพให้เลือกประมาณ 20 กว่าภาพ แต่หากเราไม่ต้องการใช้ภาพที่มีมาให้ในวินโดวส์ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ตามวิธีการดังนี้

1. คลิก Start>Control Panel
2. ในหน้าต่าง Control Panel ให้ดับเบิลคลิกที่ User Accounts applet
3. ในหน้าต่าง User Accounts ให้คลิกเลือก User ที่ต้องการ
4. ในหน้าต่างถัดไปให้คลิกที่ Change the Picture
5. ในหน้าต่างถัดไปให้คลิก Browse For More Pictures แล้วท่องไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บภาพ จากนั้นคลิกเลือกภาพที่ต้องการ
6. ปิดหน้าต่าง User Accounts แล้วปิดหน้าต่าง Control Panel เพียงเท่านี้ก็จะได้ภาพสัญลักษณ์ตามที่ต้องการแล้ว

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Create keyboard shortcuts

การสร้างคีย์บอร์ดชอร์ตคัทของโปรแกรม

ในการใช้งาน WIndows XP นั้นเราสามารถสร้างคีย์บอร์ดชอร์ตคัทสำหรับใช้เรียกโปรแกรม ซึ่งจะ้อำนวยความสะดวกในการรันโปรแกรมได้มาก ลักษณะการทำงาน คือ การกำหนดว่าเมื่อทำการกดปุ่มคีย์บอร์ดตามที่กำหนดในเวลาเดียวกัน (2-3 ปุ่ม) วินโดวส์ก็จะทำการรันโปรแกรมตามที่เรากำหนดไว้ วิธีการสร้างชอร์ตคัทสำหรับใช้เรียกโปรแกรมมีดังนี้

1. คลิกขวาที่ีไอคอนของโปรแกรมที่ต้องการบน Start Menu หรือ Desktop แล้วเลือก Properties
2. คลิกแท็บ Shortcut
3. คลิกที่ช่อง Shortcut Key
4. ทำการกดปุ่ม Ctrl หรือ Alt หรือ Shift ค้างไว้ แล้วกดปุ่มที่ต้องการใช้ในการเปิดโปรแกรม เช่น Ctrl +Alt + R


การสร้าง shortcut key ของโปรแกรม

5. เสร็จแล้วคลิก OK
6. ทดใช้งานโดยทำการกดปุ่มที่กำหนดในขั้นตอนที่ 4 หากไม่มีอะไรผิดผลาด ระบบก็จะทำการเปิดโปรแกรม

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Defragment hard disk with Power Defragmenter

การดีแฟรกฮาร์ดดิสก์ด้วยโปรแกรม Power Defragmenter

1. ทำการรันโปรแกรมโดยการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Power Defragmenter GUI.exe



รูปที่ 1 Power Defragmenter GUI 2.0.110

2. ในหน้า Defragment Mode ให้เลือกโหมดที่ต้องการ เช่น Defragment file(s) หรือ Defragment folder(s) หรือ Defragment disk ตามความต้องการดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 Defragment Mode

3. เลือกไดรฟ์ที่ต้องการ Defrag จากดร็อปดาวน์ลิสต์ เสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Defragment ซึ่งโปรแกรมจะทำการดีแฟรก โดยจะเปิดหน้าต่างคอมมานด์พร็อมดังรูปที่ 4


รูปที่ 3. Select Disk


รูปที่ 4 การทำงานของโปรแกรม Power Defragmenter

4. ให้รอจนการทำงานแล้วเสร็จ เมื่อโปรแรกมทำงานเสร็จจะแสดงไดอะล็อกดังรูปที่ 5. ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้าเริ่มต้นโปรแกรม Power Defragmenter


รูปที่ 5 Disk defragmentation completed

5. หากไม่ต้องการใช้งานอย่างอื่นต่อ ให้คลิกปุ่ม Quit เพื่อปิดโปรแกรม แล้วคลิก Yes ในหน้า Confirm Action เพื่อยืนยันการออกจากโปรแกรม


รูปที่ 6 Exit Power Defragmenter

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Internet Connectivity Evaluation Tool

เครื่องมือทดสอบการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
Internet Connectivity Evaluation Tool เครื่องมือทดสอบการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสำหรับโฮมยูเซอร์ สามารถทำงานได้ทั้งบน Windows Vista และ Windows XP โดยโปรแกรมจะทำการทดสอบฟีเจอร์ของ Router เช่น ประเภทของ Network Address Translation ที่ใช้, ความคับคั่งของทราฟิก (Traffic Congestion), Performance, UPnP Support และ Multiple Simultanoeus Connection States สำหรับท่านที่สนใจสามารถเข้าไปทดลองใช้งานได้ที่เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ตาม url ด้านล่างครับ

เว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ Internet Connectivity Evaluation Tool
Internet Connectivity Evaluation Tool

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

What's new in Windows SteadyState

*ไมโครซอฟต์ได้ทำการอัพเดท Windows Steady State เป็นเวอร์ชัน 2.0 แล้ว สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก Windows SteadyState 2.0




ไมโครซอฟต์ได้ออกชุดเครื่องมือชื่อ Windows SteadyState 1.0 หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า Shared Computer Toolkit เพื่อช่วยเหลือยูเซอร์ในการจัดการการแชร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏบัติการ Windows XP โดยได้ทำการปรับปรุงความสามารถและอินเทอร์เฟชใหม่ให้ดียิ่งขั้น

What's new
มีอะไรใหม่ใน Windows SteadyState 1.0
1. ส่วน Console สำหรับติดต่อกับผู้ใช้เป็นแท็ปลักษณะเหมือน IE7 ซึ่งช่วยให้การใช้งานทำได้ง่ายขึ้น
2. Windows Disk Protection จะทำงานในลักษณะ File-based ซึ่งจะไม่กระทบกับพาร์ติชัน
3. Windows Disk Protection รองรับการทำงานร่วมกับ group policy ทำให้สามารถควบคุมผ่านทาง Active Directory ได้
4. มีอ็อปชันการควบคุม software ให้เลือกใช้งานเพิ่มมากขั้น
5. มีอ็อปชันการควบคุม user ให้เลือกใช้งานเพิ่มมากขั้น
6. การปรับแต่งระดับความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสามารถทำการส่งออกและนำเข้าการควบคุม user ได้จากหน้า console ได้โดยตรง
7. ปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Windows update ให้ดีขึ้น โดยสามารถทำการอัพเดทการควบคุมใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
8. การติดตั้งทำได้ง่าย มีเอกสารครบถ้วนสำหรับให้ความช่วยเหลือยูเซอร์
9. ฟรีสำหรับผู้ที่ใช้ Windows ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง โดยต้องทำการ Validate ก่อนทำการติดตั้ง (อันนี้ผมเพิ่มขึ้นเองครับ)

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Windows SteadyState v1.0

*ไมโครซอฟต์ได้ทำการอัพเดท Windows Steady State เป็นเวอร์ชัน 2.0 แล้ว สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก Windows SteadyState 2.0

Windows SteadyState
ไมโครซอฟต์ได้ออกชุดเครื่องมือชื่อ Windows SteadyState 1.0 หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า Shared Computer Toolkit เพื่อช่วยเหลือยูเซอร์ในการจัดการการแชร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏบัติการ Windows XP โดยเฉพาะ computer lab, Library และ Internet cafe ซึ่งมีผู้ใช้หลายคนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกัน

Windows SteadyState 1.0 จะช่วยให้การจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และ ดีขึ้น ซึ่ง Microsoft ได้ทำการปรับปรุงความสามารถและอินเทอร์เฟชให้ดียิ่งขั้น สามารถทำงานบน Windows XP Professional, Windows XP Home และ Windows XP Tablet PC แต่อย่างก็ตาม การใช้งานนั้นมีให้เฉพาะผู้ใช้แบบ Windows Genuine Advantage เท่านั้น ซึ่งต้องทำการ Validate วินโดวส์ก่อน จึงจะสามารถทำการติดตั้งใช้งานได้

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Shutdown Windows with shutdown command

แนะนำคำสั่ง Shutdown
คำสั่ง shutdown.exe นั้นสามารถใช้ในการปิดหรือรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือทำการล็อกยูเซอร์ออฟจากเครื่อง ซึ่งคำสั่ง shutdown.exe นั้นสามารถทำงานได้ทั้งแบบโลคอลและรีโมท คำสั่ง shutdown.exe นี้จะมีมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows XP การใช้งานนั้นจะเรียกใช้จากคอมมานด์พร็อมท์

รายละเอียดคำสั่ง Shutdown.exe
คำสั่ง Shutdown.exe นั้นมีอ็อปชันให้เลือกใช้งานหลายตัว โดยสามารถดูวิธีการใช้งาน โดยการพิมพ์คำสั่งดังนี้

C:\>shutdown.exe หรือ shutdown.exe /? หรือ shutdown.exe /help

Options
-i แสดงหน้าอินเทอร์เฟชแบบ GUI
-l ให้ทำการ logoff ยูเซอร์ที่กำลังล็อกออนอยู่ (ไม่สามารถใช้ร่วมกัลอ็อปชัน - m)
-s ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-r ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์
-a ยกเลิกการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-m \\computername ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ "computername" แบบรีโมท
-t xx เวลาที่ใช้ในการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-c "comment" รายละเอียดหรือข้อความที่จะแสดงให้ยูเซอร์ทราบเมื่อทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
-f ทำการปิดโปรแกรมที่กำลังรันอยู่
-d [u][p]:xx:yy รหัสแสดงเหตุผลของการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ u = รหัสของยูเซอร์ / p = รหัสของการปิดตามกำหนดการ / xx = รหัสของเหตุผลหลัก / yy = รหัสของเหตุผลรอง

การใช้งานแบบ Local
ในการใช้งานคำสั่ง shutdown แบบโลคอลนั้นให้ทำการรันคำสั่งตามหัวข้อที่ต้องการด้านล่าง

-ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -s -f -t 01

-ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -r -f -t 05

-ทำการล็อกออฟยูเซอร์ที่กำลังใช้งานในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -l -f -t 01


การใช้งานแบบ Remote
ในการใช้งานคำสั่ง shutdown แบบรีโมทนั้นจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Remote IPC ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสั่งการ โดยสามารถใช้งานคำสั่ง shutdown.exe แบบรีโมทได้ 2 รูปแบบตามหัวข้อด้านล่าง

-ทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 1 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -s -m \\staff1 -f -t 01

-ทำการรัสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ staff1 และปิดโปรแกรมในเวลา 5 วินาที ให้ทำการรันคำสั่งดังนี้
C:\>shutdown.exe -r -m \\staff1 -f -t 05

การใช้งานแบบ GUI
สำหรับการใช้งานคำสั้ง shutdown.exe แบบ GUI มีขั้นตอนดังนี้

1. ทำการรันคำสั่ง shutdown.exe -i ที่คอมมานด์พรอมพ์ จะได้หน้าอินเทอร์เฟชแบบกราฟิกดังรูปที่ 1


รูปที่ 1. หน้าอินเทอร์เฟชแบบกราฟิกของ shutdown.exe

2. ทำการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการชัทดาวน์โดยคลิกที่ Add แล้วพิมพ์ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ หรือคลิก Browse แล้วเลือกครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ

3. เลือกคำสั่งที่ต้องการจากดร็อปดาวน์ลิสต์ ซึ่งมี 3 คำสั่งให้เลือกคือ Shutdown, Restart และ Logoff

4. เลือก Warn users of the action เพื่อแจ้งเตือนยูเซอร์

5. ในช่องใต้ Display warning for ให้ใ่ส่ค่าเวลาที่ต้องการให้ระบบแจ้งเตือนยูเซอร์ก่อนที่จะทำตามคำสั่งในข้อ 3 ค่าดีฟอลท์เท่ากับ 20 วินาที

6. ในส่วน Shutdown Event Tracker นั้นหากเป็นการทำงานตามแผนที่ได้วางไว้ก็ให้เลือกเป็น Planned แต่หากเป็นการทำงานในกรณีอื่นๆ ก็ไม่ต้องเลือก

7. เลือกรายละเอียดเหตุการณ์จากดร็อปดาวน์ลิสต์ หากเลือกเป็น Other (Planned หรือ Unplanned) จะต้องใส่ข้อความในช่อง Comment ด้วย หากเลือกเป็นอย่างอื่นก็ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อความในช่อง Comment เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อทำงาน

Note
วิธีการเปิดคอมมานด์พร็อมท์ให้คลิกที่ Start>All Programs>Accessories>Command Prompt

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Account Policies in Windows XP

การเปิดหน้าต่าง Account Policies ในระบบ Windows XP นั้นจะเรียกจาก Start>All Programs>Adminsitrative Tools>Local Security Policy โดยจะได้หน้าต่างโปรแกรมดังรูปที่ 1


นโยบายเกี่ยวกับยูสเซอร์ (Account Policies)
รูปที่ 1. Local Security Settings

Account Policies นั้นจะกำหนดรายละเอียดของยูสเซอร์ใน 2 อย่าง คือ Password Policy และ Account Lockout Policy

1. Password Policy
เป็นนโยบายที่กำหนดรายละเอียดของรหัสผ่าน มี 6 ข้อ คือ

- Enforce password history กำหนดจำนวนครั้งของการเปลี่ยนรหัสผ่าน ก่อนที่จะนำรหัสเก่ามาใช้ ค่าเริ่มต้นจะไม่ยังคับใช้
- Maximum password age กำหนดอายุสูงสุดของรหัสผ่านที่ใช้งานได้ก่อนที่จะต้องทำการเปลี่ยนรหัสใหม่ค่าเริ่มต้นเป็น 42 วัน
- Minimum password age กำหนดอายุต่ำสุดของรหัสผ่านก่อนที่จะอนุญาตให้เปลี่ยน ค่าเริ่มต้นจะไม่ยังคับใช้
- Minimum password length กำหนดความยาวต่ำสุดของรหัสผ่านที่อนุญาตให้ใช้ได้ ค่าเริ่มต้นจะไม่บังคับใช้
- Password must meet complexity requirement กำหนดให้รหัสผ่านต้องประกอบด้วย อักษรตัวเล็ก (a , b, c, …y, z) อักษรตัวใหญ่ (A, B, C, …Y, Z) อักษรพิเศษ (!, @, # , $, %, ^, &, *, (, ), _,+ และ ตัวเลข (1, 2, 3, ..9, 0) ค่าเริ่มต้นจะไม่บังคับใช้
- Store password using reversible encryption for all user in domain กำหนดให้เก็บรหัสผ่านที่สามารถถอดรหัสแบบย้อนกับได้ ค่าเริ่มต้นจะไม่บังคับใช้


รูปที่ 2. Password Policy

การกำหนด Password Policy
1. หากต้องการกำหนดค่า Password History ให้คลิกที่ Enforce password history แล้วใส่ค่าที่ต้องการ


รูปที่ 3. Enforce password histtory

2. หากต้องการกำหนดค่า Maximum password age ให้คลิกที่ Maximum password age แล้วใส่ค่าที่ต้องการ


รูปที่ 4. Maximum password age

3. หากต้องการกำหนดค่า Minimum password age ให้คลิกที่ Minimum password age แล้วใส่ค่าที่ต้องการ


รูปที่ 5. Minimum password age

4. หากต้องการกำหนดค่า Minimum password lenght ให้คลิกที่ Minimum password lenght แล้วใส่ค่าที่ต้องการ


รูปที่ 6. Minimum password lenght

5. หากต้องการกำหนดค่า Password must meet complexity requirement ให้คลิกที่ Password must meet complexity requirement แล้วเลิอก Enable


รูปที่ 7. Password must meet complexity requirement

6. หากต้องการกำหนดค่าให้ Store password using reversible encryption for all user in domain ให้คลิดที่ Store password using reversible encryption for all user in domain แล้วเลิอก Enable


รูปที่ 8. Store password using reversible encryption


2 Account Lockout Policy
เป็นนโยบายที่กำหนดรายละเอียดการปิดใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว มี 3 ข้อ คือ
- Account lockout duration ระยะเวลาเป็นนาทีที่ทำการปิดใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว
- Account lockout threshold จำนวนครั้งที่ทำการล็อกออนไม่ถูกต้องก่อนทำการปิดใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว
- Reset account lockout counter after ระยะเวลาเป็นนาทีที่ทำการยกเลิกการปิดใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว


รูปที่ 9.

การกำหนด Account Lockout Policy
1. ทำการกำหนดค่าจำนวนครั้งที่ทำการล็อกออนไม่ถูกต้องก่อนทำการปิดใช้งานยูสเซอร์ชั่วคราว โดยการคลิกที่ Account lockout threshold แล้วใส่ค่าที่ต้องการแล้วคลิก Apply


รูปที่ 10. Account lockout threshold

2. เมื่อทำการ Apply ระบบจะแสดงหน้าไดอะล็อกเพื่อให้กำหนดค่า Account lockout duration และ Reset account lockout counter after โดยค่าดีฟอลท์จะเป็น 30 นาที ให้คลิก OK


รูปที่ 11. Suggested Value Changes

3. เมื่อถึงขั้นตอนนี้ค่าของ Account lockout duration และ Reset account lockout counter after จะเป็น 30 นาทีตามค่าดีฟอลท์


รูปที่ 12. Lockout Policy

4. หากต้องการเปลี่ยนค่าให้ทำการดับเบิลคลิกที่ Account lockout duration แล้วใส่ค่าที่ต้องการ

รูปที่ 13. Account lockout duration

5. หากต้องการเปลี่ยนค่าให้ทำการดับเบิลคลิกที่ Reset account lockout counter after แล้วใส่ค่าที่ต้องการ


รูปที่ 14. Reset account lockout counter after

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

การใช้โปรแกรม CCleaner Step by Step

การใช้งานโปรแกรม CCleaner Step by Step
การใช้งานคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ นั้น วินโดวส์จะทำการสร้างไฟล์ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Temporary File หลังจากทำการปิดโปรแกรมไฟล์เหล่านั้นก็จะถูกลบไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งนั้นไฟล์เหล่านี้บางตัวยังคงค้างอยู่บนฮาร์ดดิสก์ ซึ่งนอกจากจะเปลืองพื้นที่ยนฮาร์ดดิสก์แล้ว ยังทำให้การทำงานช้าลงอีกด้วย ซึ่งเราสามารถที่จะทำการลบไฟล์ต่างๆ เหล่านี้เองก็ได้เหมือนกัน แต่คงจะดีกว่านี้หากมีโปรแกรมช่วยในการทำงานดังกล่าวแทน และยิ่งจะดีขึ้นไปอีกถ้าโปรแกรมที่ว่านั้นให้ใช้งานกันฟรีๆ คำตอบของคำถามนี้ คือ CCleaner ครับ ซึ่งเป็นมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาครบถ้วนครับ ก็ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงให้มาก (รู้สึกจะออกแนวลิเกไปหน่อยแล้วเรา) มาเริ่มกันเลยครับ

ทำความรู้จัก CCleaner
CCleaner นั้นเป็นโปรแกรมทำความสะอาดไฟล์ขยะและไฟล์ชั่วคราวต่างๆ ของวินโดวส์ ซึ่งพัฒนาโดยทีมพัฒนาของ Periform Limited ในประเทศอังกฤษ โดยเป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานกันฟรีๆ ซึ่งมีการดาวน์โหลดไปใช้งานกันเป็นจำนวนถึงกว่า 110 ล้านครั้งนับถึงเดือนมกราคม 2551 (จาก 65 เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ) สำหรับเวอร์ชันในขณะนี้ (17 มิถุยายน 2550)เป็นเวอร์ชัน 1.10.520 สำหรับการดาวน์โหลดนั้นสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.ccleaner.com/download/เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ขั้นตอนการติดตั้งนั้นก็ง่ายๆ ตรงไปตรงมาโดยให้ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ ccsetup140.exe แล้วทำตามคำสั่งบนจอภาพจนแล้วเสร็จ

Install CCleaner
เมื่อทำการดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก็เริ่มติดตั้งกันเลย

1. ให้ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ ccsetup1xx.exe ที่ดาวน์โหลดมา (xx เป็นเวอร์ชัน = 39 หรือ 40 แล้วแต่ว่าดาวน์โหลดตัวไหนมา แนะนำให้ใช้ตัวใหม่ที่สุดครับ)จะได้ดังรูปที่ 1
2. จากรูปที่ 1 ให้เลือกติดตั้งเป็นภาษาอังกฤษ แล้วคลิก OK


รูปที่ 1 Installer Language

3. ในหน้า ccleaner v1.xx setup ดังรูปที่ 2 ให้คลิก Next


รูปที่ 2. ccleaner v1.xx setup

4.ในหน้า License Agreement ดังรูปที่ 3 ให้คลิก I Agree


รูปที่ 3. License Agreement

5. ในหน้า Choose Install Location ดังรูปที่ 4 ให้คลิก Next


รูปที่ 4. Choose Install Location

6. ในหน้า Install Options ดังรูปที่ 5 ให้เลือกอ็อปชันที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Install


รูปที่ 5. Install Options

7. ในหน้า Completing the CCleaner v1.xx Setup Wizard ดัวรูปที่ 6 ให้คลิก Finish


รูปที่ 6. Completing the CCleaner v1.xx Setup Wizard

เริ่มต้นใช้งาน CCleaner
เมื่อทำการติดตั้งแล้วเสร็จก็เริ่มต้นใช้งานกันเลย

1. ทำการเปิดโปรแกรมโดยการดับเบิลคลิกที่ชอร์ตคัท ccleaner บนเดสท็อป ซึ่งจะได้หน้าต่างเริ่มต้นโปรแกรม CCleaner ดังรูปที่ 7 ซึ่งเป็นหน้าการตั้งค่าการลบไฟล์ต่างๆ ของวินโดวส์ ซึ่งมี 4 หัวข้อ คือ Internet Explotrer, Windows Explorer, System และ Advanced โดยในหน้านีให้เราเลือกค่าที่ต้องการลบตามความต้องการ


รูปที่ 7. Cleaner Windows

2. ให้คลิกที่แท็ป Applications จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 8 ซึ่งเป็นหน้าการตั้งค่าการลบไฟล์ต่างๆ ของโปรแกรมประยุกต์ ในส่วนนี้อาจจะแตกต่างกันไปในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นๆ ให้เราเลือกค่าที่ต้องการลบตามความต้องการ


รูปที่ 8. Cleaner App;ications

3. ให้คลิกที่ Issues จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 9 ซึ่งเป็นหน้าการตั้งค่าการหัวข้อต่างๆ ที่ต้องการสแกน โดยจะมีอยู่ 2 หัวข้อ คือ Registry Integrity และ File Integrity ให้เราเลือกหัวข้อตามความต้องการ (แนะนำให้ใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้)


รูปที่ 9. Issues

4. ให้คลิกที่ Tools ซึ่งจะมี 2 หัวข้อย่อย คือ Uninstall และ Startup ดังรูปที่ 10 และ 11 ตามลำดับ

4.1 หน้าต่าง Uninstall ดังรูปที่ 10 จะแสดงโปรแกรมต่างๆ ที่ติดตั้งอยูภายในคเรื่อง และเราสามารถทำการ ยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม หรือ เปลียนชื่อโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ หรือ ลบรายชื่อโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ออก ได้โดยการคลิกเลือกโปรแกรมที่ต้องการแล้วคลิกที่คำสั่งในด้านขวาของหน้าต่าง


รูปที่ 10. Uninstall

4.2 หน้าต่าง Startup ดังรูปที่ 11 จะแสดงโปรแกรมต่างๆ ที่เริ่มทำงานในพร้อมกับการสตารท์ระบบวินโดวส์ เราสามารถทำการ ลบโปรแกรมที่ไม่ต้องการให้ทำกงานเมื่อสตารท์ระบบวินโดวส์ โดยการคลิกเลือกหัวข้อที่ต้องการแล้วคลิกคำสั่ง Delete Entry ในด้านล่างของหน้าต่าง


รูปที่ 11. Startup

5. เมื่อคลิกที่ Options จะได้หน้าต่างแสดงรายละเอียดของโปรแกรมดังรูปที่ 12


รูปที่ 12. About

6. ในหน้าต่าง Options ให้คลิกที่ Advanced เพื่อทำการตั้งค่าในขั้นสูง จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 13 จากนั้นทำการตั้งค่าตามความต้องการโดยการคลิกเลือกเชคบ็อกซ์หน้าหัวข้อที่ต้องการให้มีเครื่องหมายถูกหากต้องการเลือกข้อนั้นให้ทำงาน


รูปที่ 13. Advanced

7. ในหน้าต่าง Options ให้คลิกที่ Custome เพื่อทำการตั้งค่าไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลบ จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 14 จากนั้นทำการเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์โดยการคลิกที่ Add File หรือ Add Folder ตามความเหมาะสม ในกรณีที่เลือกเป็นโฟลเดอร์นั้นโปรแกรมจะให้ยืนยันการลบ ให้คลิก Yes เพื่อยืนยัน


รูปที่ 14. Custome

8. ในหน้าต่าง Options ให้คลิกที่ Cookies เพื่อทำการตั้งค่าเกี่ยวกับคุกกี้ จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 15 จากนั้นทำการเลือกว่าจะไม่ลบคุกกี้ตัวไดบ้าง โดยการคลิกเลือกตัวที่ต้องการแล้วคลิกที่ลูกศรที่ชี้ไปทางด้านขวามือ


รูปที่ 15. Cookies

9. ในหน้าต่าง Options ให้คลิกที่ Settings เพื่อทำการตั้งค่าการทำงานของ CCleaner จะได้หน้าต่างดังรูปที่ 16 จากนั้นทำการให้เลือกค่าตามความต้องการ โดยการคลิกเลือกเชคบ็อกซ์หน้าหัวข้อที่ต้องการให้มีเครื่องหมายถูกหากต้องการเลือกข้อนั้นให้ทำงาน


รูปที่ 16. Options settings

10. เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว ให้กลับไปยังหน้าเริ่มต้นโดยการคลิกที่ Cleaner จากนั้นคลิกปุ่ม Analyze เพื่อให้โปรแกรมทำการวิเคราะห์ระบบ รอจนกว่าการทำงานแล้วเสร็จ จะได้หน้าต่างที่มีลักษณะดังรูปที่ 17


รูปที่ 17. Analyze

11. ในหน้าต่าง Cleaner เมื่อการ Analyze แล้วเสร็จ ให้คลิดที่ปุ่ม Run Cleaner เพื่อทำการลบไฟล์ต่างๆ โดยโปรแกรมจะแจ้งเตือนว่าจะทำการลบข้อมูลอย่างถาวรดังรูปที่ 18 ให้ยืนยันการลบโดยการคลิก Yes


รูปที่ 18. Confirm

12. เมื่อโปรแกรมทำงานแล้วเสร็จก็จะแสดงรายละเอียดต่างๆ เช่น ขนาดไฟล์โดยรวมที่ทำการลบ และรายการของไฟล์ที่ทำการลบ ดังรูปที่ 19 ปิดโปรแกรมเพื่อจบการทำงาน


รูปที่ 19. Clean finished

การรันโปรแกรม CCleaner จาก Recycle Bin
นอกจากนี้แล้วยังสามารถรันโปรแกรม CCleaner โดยการคลิกขวาที่ Recycle Bin แล้วเลือก Run CCleaner ดังรูปที่ 20
ซึ่งจะทำการคลีนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ไม่ต้องเปิดโปรแกรม


รูปที่ 20 CCleaner จาก Recycle

แหล่งอ้างอิง
• โฮมเพจ CCleaner: www.ccleaner.com

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Windows XP Recovery Console (Eng)

Recovery Console overview
On the morning when you turn on your desktop, but the computer don't start as usually. You known that bad luck day have comes, then you try to start it to safe mode and other startup options but all do not work, you can consider using the Recovery Console. This method is recommended only if you are an advanced user who can use basic commands to identify and locate problem drivers and files. In addition, you must be an administrator to use the Recovery Console.

Using the Recovery Console
When you start computer in Recovery Console, you can enable and disable services, format drives, read and write data on a local drive (including drives formatted to use NTFS), and perform many other administrative tasks. The Recovery Console is particularly useful if you need to repair your system by copying a file from a floppy disk or CD-ROM to your hard drive, or if you need to reconfigure a service that is preventing your computer from starting properly.

Start the Recovery Console
There are two ways to start the Recovery Console

1. If you are unable to start your computer, you can run the Recovery Console from your Setup CD.
2. As an alternative, you can install the Recovery Console on your computer to make it available in case you are unable to restart Windows. You can then select the Recovery Console option from the list of available operating systems on startup.


After you start the Recovery Console you will have to choose which installation you want to log on to (if you have a dual-boot or multiple-boot system) and you will have to log on with your administrator password.

The console provides commands you can use to do simple operations such as changing to a different directory or viewing a directory, and more powerful operations such as fixing the boot sector. You can access Help for the commands in the Recovery Console by typing help at the Recovery Console command prompt.

To install the Recovery Console as a startup option
1. With Windows running, insert the Setup CD into your CD-ROM drive.
2. CLick Start and select Run.
3. Type the following where D: is the CD-ROM drive letter:
D:\i386\winnt32.exe /cmdcons

4. Follow the instructions on the screen.

Notes:
To run the Recovery Console, restart your computer and select the Recovery Console option from the list of available operating systems.
You must be logged on as an administrator or a member of the Administrators group in order to complete this procedure. If your computer is connected to a network, network policy settings may also prevent you from completing this procedure

To start the computer and use the Recovery Console
To start the computer and use the Recovery Console using the Setup CD-ROM

1. Insert the Setup compact disc (CD) and restart the computer. If prompted, select any options required to boot from the CD.
2. When the text-based part of Setup begins, follow the prompts; choose the repair or recover option by pressing R.
3. If you have a dual-boot or multiple-boot system, choose the installation that you need to access from the Recovery Console.
4. When prompted, type the Administrator password.
5. At the system prompt, type Recovery Console commands; type help for a list of commands, or help commandname for help on a specific command.
6. To exit the Recovery Console and restart the computer, type exit.

To start the computer and use the Recovery Console using already installed the Recovery Console

1. During Startup, select Recovery Console from the startup options menu.
2. If you have a dual-boot or multiple-boot system, choose the installation that you need to access from the Recovery Console.
3. When prompted, type the Administrator password.
4. At the system prompt, type Recovery Console commands; type help for a list of commands, or help commandname for help on a specific command.
5. To exit the Recovery Console and restart the computer, type exit.

Important:
Because the Recovery Console is quite powerful, it is recommended used it with high coution and use only by advanced users or administrators.

To delete the Recovery Console
1. Open My Computer.
2. Double-click the hard drive on which you installed the Recovery Console.
3. On the Tools menu, click Folder Options.
4. Click the View tab.
5. Click Show hidden files and folders, clear the Hide protected operating system files check box, and then click OK.
6. At the root directory, delete the \Cmdcons folder.
7. At the root directory, delete the file Cmldr.
8. At the root directory, right-click the Boot.ini file and then click Properties.
9. Clear the Read-only check box, and then click OK.
10. Open Boot.ini in Notepad, and remove the entry for the Recovery Console. It will look similar to this:
C:\cmdcons\bootsect.dat="Microsoft Windows Recovery Console" /cmdcons

11. Save the file and close it.

Warning
Modifying the Boot.ini file incorrectly may prevent your computer from restarting. Be sure to delete only the entry for the Recovery Console

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Delete personal information in Internet Explorer 6

การลบข้อมูลส่วนตัวใน Internet Explorer 6
การใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยใช้ Internet Explorer นั้น หลายๆ ครั้งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบตัวตน (Authentication) โดยการใช้ Username และ Password เช่น การล็อกอินเข้าระบบอีเมล เป็นต้น หรือในบางครั้งจะต้องทำการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ซึ่งในตัวโปรแกรม Internet Explorer นั้นจะมีเครื่องมือชื่อ AutoComplete ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานต่างๆ ดังที่กล่าวมา โดยมันจะทำหน้าที่ในการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ Username และ Password รวมถึงข้อมูลอื่นๆ เพื่อเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไป โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำการป้อนใหม่

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับ Username และ Password นั้นเป็นความลับส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ โดยความสำคัญนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็น Username และ Password ของระบบอะไร หากเป็นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองก็คงไม่มีความเสี่ยงเท่าไหร่ แต่ถ้าหากเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือเครื่องที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายๆ คน ก็มีความเสี่ยงสูงที่ข้อมูลดังกล่าวจะตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาแก่เจ้าของข้อมูลตามมาได้ ดังนั้นหากไม่มั่นใจในความปลอดภัยก็ควรทำการลบข้อมูลส่วนตัว (Personal Information) ที่ AutoComplete บันทึกเก็บไว้

การเปิดใช้งาน AutoComplete
วิธีการการเปิดใช้งาน AutoComplete ใน Internet Explorer 6 มีขั้นตอนดังนี้

1. ในหน้าต่าง Internet Explorer ให้คลิก Tools แล้วคลิก Internet Options

2. ในหน้า Internet Options ให้คลิกแท็บ Content

AutoComplete
รูปที่ 1. Internet Options: AutoComplete

3. หน้า Content ในส่วน Personal Information ให้คลิก AutoCoplete

AutoComplete Settings
รูปที่ 2. AutoComplete Settings

4. ในหน้า AutoComplete Settings ในส่วน Use AutoComplete for ให้เลือกตั้งค่าตามความต้องการ

5. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า AutoComplete Settings และคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Internet Options


การลบ Personal Information
การลบ Personal Information ใน Internet Explorer 6 มีขั้นตอนดังนี้

1. ในหน้าต่าง Internet Explorer ให้คลิก Tools แล้วคลิก Internet Options

2. ในหน้า Internet Options ให้คลิกแท็บ Content

3. หน้า Content ในส่วน Personal Information ให้คลิก AutoCoplete

4. ในหน้า AutoComplete Settings ให้คลิก Clear Forms เพื่อลบข้อมูลการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ที่ AutoComplete บันทึกเก็บไว้

Clear Forms
รูปที่ 3. Clear Forms

5. ในหน้า AutoComplete Settings ให้คลิก Clear Passwords เพื่อลบข้อมูล Username และ Password ต่างๆ ที่ AutoComplete บันทึกเก็บไว้

Clear Passwords
รูปที่ 4. Clear Passwords

6. คลิก OK เพื่อออกจากหน้า AutoComplete Settings และคลิก OK อีกครั้งเพื่อออกจากหน้า Internet Options

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

System Volume Information folder (English language)

System Volume Information folder

Reference
This posted refered to "How to gain access to the System Volume Information folder"http://support.microsoft.com/kb/309531

The System Volume Information folder is a hidden system folder that the System Restore tool uses to store its information and restore points. There is a System Volume Information folder on every partition on your computer. By default only SYSTEM can access this folder, but sometimes you might need to gain access to this folder for troubleshooting problem.

Windows XP Professional or Windows XP Home Using the FAT32 File System
1. Click Start, and then click My Computer.
2. On the Tools menu, click Folder Options.
3. On the View tab, click Show hidden files and folders.
4. Clear the Hide protected operating system files (Recommended) check box. When you are prompted to confirm the change, click Yes.
5. Then click OK.
6. Finally double-click the System Volume Information folder in the root folder to open it.

Windows XP Professional Using the NTFS File System on a member of Domain
1. Click Start, and then click My Computer.
2. On the Tools menu, click Folder Options.
3. On the View tab, click Show hidden files and folders.
4. Clear the Hide protected operating system files (Recommended) check box. Click you are prompted to confirm the change, click Yes.
5. Then click OK.
6. Right-click the System Volume Information folder in the root folder, and then click Sharing and Security.
7. Click the Security tab.
8. Click Add, and then type the name of the user to whom you want to give access to the folder. Choose the account location if appropriate (either local or from the domain). Typically, this is the account with which you are logged on. Click OK, and then click OK again.
9. Finally double-click the System Volume Information folder in the root folder to open it.

Windows XP Professional using the NTFS File System on a Workgroup or Standalone
1. Click Start, and then click My Computer.
2. On the Tools menu, click Folder Options.
3. On the View tab, click Show hidden files and folders.
4. Clear the Hide protected operating system files (Recommended) check box. you are prompted to confirm the change, click Yes.
5. Clear the Use simple file sharing (Recommended) check box.
6. Then click OK.
7. Right-click the System Volume Information folder in the root folder, and then click Properties.
8. Click the Security tab.
9. Click Add, and then type the name of the user to whom you want to give access to the folder. Typically, this is the account with which you are logged on. Click OK, and then click OK again.
10. Finally double-click the System Volume Information folder in the root folder to open it.

Using CACLS with Windows XP Home Using the NTFS File System
For Windows XP Home with the NTFS file system, you can also use the Cacls tool, which is a command-line tool, to display or modify file or folder access control lists (ACLs).

1. Click Start, click Run, type cmd, and then click OK.
2. Make sure that you are in the root folder of the partition for which you want to gain access to the System Volume Information folder. For example, to gain access the C:\System Volume Information folder, make sure that you are in the root folder of drive C (at a "C:\" prompt).
3. Type the following line, and then press ENTER:
cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /G username:F
Make sure to type the quotation marks as indicated. This command adds the specified user to the folder with Full Control permissions.
4. Double-click the System Volume Information folder in the root folder to open it.
5. You can remove the permissions by use the following line at a command prompt:

cacls "driveletter:\System Volume Information" /E /R username

Where username is the name of user you don't want to access to folder.

Start computer in Safe mode
When you run the computer in Safe mode the simple file sharing is automatically turned off. The You can access to System Volume Information folder without additional actions.
1. Open My Computer, right-click the System Volume Information folder, and then click Properties.
2. Click the Security tab.
3. Click Add, and then type the name of the user to whom you want to give access to the folder. Typically, this is the account with which you are logged on.
4. Click OK twice.
5. Double-click the System Volume Information folder to open it

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

IP address configuration in Windows XP

การตั้งค่า IP Address ใน Windows XP
การตั้งค่า IP Address ของระบบเครือข่ายใน Windows XP นั้น มีวิธีการและขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.ให้คลิกเม้าส์ที่ Start>Control Panel>Network Connections

2.ในหน้าต่างคลิกขวาที่ Local Ares Connection แล้วเลือก Properties

3.ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Ares Connection Properties ที่แทป General ในช่อง This connection uses the following items: ให้คลิก Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกปุ่ม Properties

4.ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Protocol (TCP/IP) Properties ให้ทำการกำหนดค่าต่างๆ ดังนี้

4.1 หากต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับ IP Address โดยอัตโนมัติจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์ ให้เลือก
• Obtain an IP address automatically

4.1.1 แล้วเลือกการตั้งค่า DNS เซิร์ฟเวอร์ เป็น
• Obtain DNS server address automatically
ซึ่งจะกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับค่า DNS เซิร์ฟเวอร์โดยอัตโนมัติจาก DHCP เซิร์ฟเวอร์

4.1.2 หรือเลือก
• Use the following IP address
แล้วใส่ค่า DNS เซิร์ฟเวอร์เอง

4.2 หากต้องการกำหนดค่า IP Address ให้เครื่องคอมพิวเตอร์เองให้เลือก
• Use the following IP address
แล้วใส่ค่าต่างๆ ในช่อง IP Address, Subnet Mask และ Default gateway ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ระบบจะบังคับให้ต้องใส่ค่า DNS เซิร์ฟเวอร์เอง

5.เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อออกจากไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Protocol (TCP/IP) Properties

6.แล้วคลิก OK เพื่อออกจากไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Ares Connection Properties แล้วปิดหน้าต่าง Local Ares Connection โดยอาจต้องรอ 1-2 นาที (ขึ้นอยู่กับความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์) เพื่อให้การตั้งค่ามีผล

คำสั่งสำหรับจัดการ IP Address
การจัดการ IP address ใน Windows XP/2003 นั้นจะใช้คำสั่ง ipconfig ซึ่งเป็นคำสั่งแบบ Command Line โดยจะต้องทำการรันจาก Commnad prompt โดยเราสามารถใช้ ipconfig จัดการ IP addess ได้ดังนี้

1. การดู IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างย่อ
C:\>ipconfig

2. การดู IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด
C:\>ipconfig /all

3. การลบ IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์
C:\>ipconfig /release

4. การขอ IP Address ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ (ต้องทำการลบ IP addess ตามวิธีในข้อ 3. ก่อนจึงจะขอใหม่ได้)
C:\>ipconfig /renew

5. การล้าง DNS Cache ของเครื่องคอมพิวเตอร์
C:\>ipconfig /flushdns

วิธีการเปิด Command prompt
วิธีการเปิด Command prompt ใน Windows XP นั้น มีวิธีการดังน้
1. คลิกเม้าส์ที่ Start>All Programs>Accessories>Command Prompt

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

การป้องกันคอมพิวเตอร์จากมัลแวร์และการป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย

การป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากมัลแวร์และการป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย
ในปัจจุบันมัลแวร์ (Virus, Spyware และอื่นๆ) ยังคงเป็นภัยที่คุกคามและสร้างความกังวลใจให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และนับวันดูเหมือนจะยิ่งมีมากขึ้น บ่อยขึ้น รุนแรงขึ้น และแพร่ระบาดได้รวดเร็วมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากมัลแวร์ต่างๆ และเพื่อป้องกันข้อมูลต่างๆ สูญหาย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ท่านปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

1. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์ โดยต้องทำการอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและสปายแวร์อย่างสม่ำเสมอ (แนะนำให้ทำการอัพเดททุกๆ วัน)

2. เพื่อใช้วินโดวส์ไฟร์วอลล์ หรือติดตั้งโปรแกรมไฟร์วอลล์ เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ให้ถูกบุกรุกจาก Hacker หรือ มัลแวร์ต่างๆ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานวินโดวส์ไฟร์วอลล์ใน Windows XP ได้ที่เว็บไซต์ http://thaiwinadmin.blogspot.com/2007/07/windows-firewall-configuration.html

3. ควรทำการอัพเดทระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ โดยไมโครซอฟต์จะออกอัพเดทเดือนละครั้ง ในทุกๆ วันอังคารที่สองของเดือน ซึ่งตรงเป็นเช้าวันพุธตามเวลาในประเทศไทย

4. เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากปัญหาเกี่ยวกับไวรัส สปายแวร์ และ มัลแวร์ (Virus, Spyware and Malware) ให้ท่านใช้ Account ที่มี Privilege แบบผู้ใช้ธรรมดา (Limited user) ในการใช้งานประจำวันหรือการใช้งานทั่วๆ ไป

5. ในกรณีที่ต้องทำการแชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ให้ทำการแชร์แบบอ่านอย่างเดียว (Read Only) เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไวรัส สปายแวร์ และ มัลแวร์ (Virus, Spyware and Malware) ถ้าจำเป็นต้องทำการแชร์แบบ Read-Write ให้กำหนดรหัสผ่านสำหรับการแชร์แบบ Write ทุกๆ ครั้ง

6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง และป้องกันการสูญหายของข้อมูลเนื่องจากระบบวินโดวส์เสีย ให้แยกข้อมูลต่างๆ ไปเก็บไว้บนไดร์ฟไม่ใช่ไดร์ฟที่ระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่

7. เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลเนื่องจากฮาร์ดดิสก์เสียให้ทำการสำรองข้อมูลที่สำคัญๆ ลงแผ่นซีดีหรือดีวีดี

8. ควรทำอิมเมจของไดร์ฟที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อใช้ในการกู้คืนระบบในกรณีที่วินโดวส์หรือฮาร์ดดิสก์เสีย

9. ไม่ควรติดตั้งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ได้มาจากการดาวน์โหลดไพรเรทเว็บไซต์ (คือเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์) บนอินเทอร์เน็ต หรือติดตั้งโปรแกรมที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือนโยบายขององค์กร เนื่องจากอาจทำให้เครื่องมีความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับไวรัส สปายแวร์ และ มัลแวร์ (Virus, Spyware and Malware) สูงขึ้น

10. ไม่ควรติดตั้งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นในการทำงาน เพราะนอกจากอาจทำให้เครื่องมีความเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับไวรัส สปายแวร์ และ มัลแวร์ (Virus, Spyware and Malware) สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงได้

11. กำหนดรหัสผ่านให้กับ Administrator และทำการเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและเป็นความลับ และควรทำการเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 42 วัน เป็นอย่างมาก

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Installation hardware's drivers on Windows XP.

การติดตั้งไดร์ฟเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนวินโดวส์

วิธีการติดตั้ง Driver นั้น โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ลัษณะใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. ติดตั้งจากโปรแกรมชุดติดตั้ง Driver ที่มาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีวิซาร์ดช่วยเหลือในการ
ติดตั้งการติดตั้งทำได้ง่ายโดยส่วนมากจะเป็นการตอบโต้กับวิซาร์ดเพื่อเลือกการกระทำ วิธีการติดตั้งทำได้โดยการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ Driver เช่น Setup.exe เป็นต้น
2. ติดตั้งโดยการค้นหาจากไฟล์ Driver บนที่เก็บไว้บนฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นซีดี การติดตั้งทำได้ยาก
เนื่องจากต้องทราบว่า Driver ชื่ออะไร เก็บอยู่ที่ไหนกระทำ วิธีการติดตั้งทำได้โดยการเปิด System Properties ไปที่ Tab Hardware แล้วเลือก Device Manager เลือก Other Devices แล้วเลือก ฮาร์ดแวร์ที่ต้องการ เช่น Ethernet Controller คลิกขวาเลือก Properties เลือก Reinstall Driver แล้วทำให้ Browse ไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บ Driver จากนั้นให้ทำตามคำสั่งจนแล้วเสร็จ (ในบางครั้งระบบอาจถามให้ยืนยันเรื่องต่างๆ หากแน่ใจว่า Driver มีความน่าเชื่อถือก็ให้ตอบ OK, Accept หรือ Yes)

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

Working remotely with Remote Desktop on Windows XP

การใช้งาน Remote Desktop บน Windows XP
การใช้งาน Remote Desktop บน Windows XP จะมี 2 องค์ประกอบด้วยกัน คือ Remote Desktop Server และ Remote Desktop Client

1. Remote Desktop Server ซึ่งจะรันอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows Server 2003 ก็ได้

การใช้งาน Remote Desktop Server บน Windows XP กับบน Windows Server 2003 นั้นจะมีข้อแตกต่างจากเล็กน้อย คือ บน Windows XP นั้นจะสามารถให้บริการแก่ Remote Desktop Client ได้เพียง 1 ยูสเซอร์ และเมื่อมีการใช้งาน Remote Desktop นั้น ยูสเซอร์ที่ใช้งานหน้าเครื่อง (Local logged on user) จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ใน Windows Server 2003 นั้น จะสามารถให้บริการแก่ Remote Desktop Client ได้ 2 ยูสเซอร์ พร้อมกัน (2 Concurrent Connection) โดยเมื่อมีการใช้งาน Remote Desktop นั้น ยูสเซอร์ที่ใช้งานหน้าเครื่อง (Local logged on user) จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ

2. Remote Desktop Client ซึ่งจะรันอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ขอใช้บริการ ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือ Windows Server 2003 ก็ได้

Remote Desktop Server
Remote Desktop นั้นมีประโยชน์มากในการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล การทำงานนั้นจะใช้โปรโตคอล Remote Desktop Protocol (RDP) และใช้พอร์ทหมายเลข 3389 การใช้งานนั้นต้องรู้หมายเลขไอพี (IP address)
หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer name) และต้องใช้ยูสเซอร์ (User) และ รหัสผ่าน (Password) ในการตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน

การเปิดใช้งาน Remote Desktop Server บน Windows XP นั้นมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด System Properties โดยการคลิกขวาที่ My Computer บนเดสก์ท็อปแล้วเลือก Properties หรือ ดับเบิลคลิกที่ System ใน Control Panel

2. คลิกเลือกแท็บ Remote จากนั้นในส่วน Remote Desktop ให้ทำการคลิกเลือก check box หน้า Allow users to connect remotely to this computer ดังรูปที่ 1

Remote Desktop Properties
รูปที่ 1. Remote Desktop Properties

3. จากนั้นคลิกปุ่ม Select Remote Users
4. ในหน้าต่าง Remote Desktop Users ให้คลิกปุ่ม Add
5. ในหน้าต่าง Select Users ใส่ยูสเซอร์ที่ต้องการให้ใช้งาน Remote Desktop เสร็จแล้วกด OK
6. หากต้องการเพิ่มยูสเซอร์อีก ให้ทำตามขั้นตอนที่ 4-5 หากไม่ต้องการ ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อกลับไปยังแท็บ Remote แล้วคลิกปุ่ม Apply เพื่อให้การตั้งค่ามีผล หรือ คลิกปุ่ม OK เพื่อจบการทำงาน

Remote Desktop Client
การเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Remote Desktop Server นั้น ทำได้โดยการใช้โปรแกรม Remote Desktop Client (RDC) ซึ่งมีมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยมีวิธีการใช้งานดังนี้

1. เรียกใช้งาน RDC จาก All Programs>Accessories>Communications>Remote Desktop Connection
2. ในหน้าต่าง Remote Desktop Connection ให้เลือกข้อใดข้อหนึ่งจากด้านล่าง

• 2.1 ไม่แสดง Options ของ RDC ดังรูปที่ 2
2.1.1 ให้ใส่หมายเลข IP Address หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วกดปุ่ม Connect

Remote Desktop Client
รูปที่ 2. Remote Desktop Client

2.2.2 ในหน้าต่าง Log On to Windows ดังรูปที่ 3 ให้ใส่ Username และ Password เสร็จแล้วกด OK เพื่อทำการ Logon

Log On to
รูปที่ 3. Log On to

• 2.2 แสดง Options ของ RDC ดังรูปที่ 4
2.2.1 ให้ใส่หมายเลข IP Address หรือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นใส่ Username และ Password เสร็จแล้วกดปุ่ม Connect

Remote Desktop Client
รูปที่ 4. Remote Desktop Client


3. เมื่อทำการ Logon เสร็จแล้ว ก็สามารถทำงานต่างๆ เหมือนกับการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องทุกประการ (เมื่อใช้งานแล้วเสร็จนั้นให้ทำการ Logoff หรือ Disconnect ทุกครั้ง)

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.