31 สิงหาคม 2552

Windows XP Recovery Console

Windows XP Recovery Console
การแก้ไขปัญหาในกรณีที่ Windows XP สตาร์ทไม่ได้นั้น นอกการการบูตเข้า Safe mode แล้ว ยังสามารถใช้ Recovery Console ได้อีกด้วย โดยเมื่อทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Recovery Console นั้น เราสามารถที่จะทำการปิดบริการต่างๆ หรือทำการฟอร์แมตไดรฟ์ หรือทำการอ่านข้อมูลต่างๆ ที่เก็บอยู่บนไดรฟ์ และทำงานอื่นๆ ได้

Recovery Console นั้นจะมีประโยชน์ในกรณีที่ต้องการซ่อมระบบโดบการก็อปปีจากฟลอปปีดิสก์หรือซีดีรอมลงฮาร์ดดิสก์ หรือทำการรีคอนฟิกเซอร์วิสต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เครื่องบูตไม่ขึ้น

วิธีการเข้าใช้งานนั้นมีสองวิธีคือ
1. ทำการรันจากแผ่น Setup CD
2. ทำการติดตั้ง Recovery Console ลงเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเลือกในขณะบูตเครื่องเป็น Recovery Console

ถ้าหากเป็นการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Dual Boot นั้น หลังจากทำการบูตเครื่องเข้า Recovery Console แล้ว จะต้องเลือกว่าเข้าสู่ระบบปฏิบัติการตัวไหน โดยต้องใส่รหัสผ่าน (Password) ของ Administrator ของระบบนั้น

ในหน้า console จะสามารถใช้คำสั่งพื้นฐานต่างๆ ได้ เช่น การเปลี่ยนหรือการอ่านไดเรกตอรี และยังสามารถใช้คำสั่งขึ้นสูงได้ เช่น การแก้ไขปัญหาของ Boot Sector นอกจากนี้ยังมีความช่วยเหลือในรูปแบบของคำสั่ง Help ให้อีกด้วย

การติดตั้ง Recovery Console เข้าเป็นตัวเลือกการ Startup
การติดตั้ง Recovery Console เข้าเป็นตัวเลือกการ Startup นั้นมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. ในขณะที่ระบบวินโดวส์กำลังรันอยู่ ให้ใส่แผ่น Setup CD เข้าไดรฟ์ CD-ROM
2. คลิกปุ่ม Start คลิก Run แล้วพิมพ์คำสั่งตามบรรทัดด้านล่าง (เมื่อไดรฟ์ CD-ROM เป็น D:)
D:\i386\winnt32.exe /cmdcons

3. ทำตามคำสั่งบนจอภาพจนแล้วเสร็จ

หมายเหตุ
• วิธีการเข้าสู่ Recovery Console นั้นให้ทำการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเลือก Recovery Console จากลิสต์รายการของระบบปฏิบัติการ
• ต้องใส่รหัสผ่าน (Password) ของ Administrator ของระบบที่จะเข้าหน้า Recovery Console
• หากต้องการความช่วยเหลือให้พิมพ Help แล้วกด Enter
• หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถบูตจากฮาร์ดดิสก์ได้ ให้ทำการรัน Recovery Console จากแผ่น Setup CD

วิธีการลบ Recovery Console
วิธีการลบ Recovery Console นั้น มีขั้นตอนการทำดังนี้

1. เปิด My Computer โดยการคลิก Start แล้วคลิก My Computer
2. ดับเบิลคลิกที่ฮาร์ดไดรฟ์ที่ Recovery Console ติดตั้งอยู่
3. คลิก Folder Options บนเมนู Tools
4. คลิกแท็ป View
5. ให้คลิกที่เช็คบ็อกซ์ Show hidden files and folders
6. ให้ลบเครื่องหมายถูกที่เช็คบ็อกซ์หน้า Hide protected operating system files เสร็จแล้วคลิก OK
7. ที่รูทไดเรกตอรี ให้ลบโฟลเดอร์ \Cmdcons
8. ที่รูทไดเรกตอรี ให้ลบไฟล์ Cmldr
9. ให้คลิกขวาที่ไฟล์ Boot.ini แล้วคลิก Properties ให้ลบเครื่องหมายถูกที่เช็คบ็อกซ์ Read-only เสร็จแล้วคลิก OK
10. เปิดไฟล์ Boot.ini ด้วย Notepad แล้วทำการลบบรรทัดคำสั่งด้านล่าง เสร็จแล้วบันทึกแล้วปิดโปรแกรม

C:\cmdcons\bootsect.dat="Microsoft Windows Recovery Console" /cmdcons

11. ให้คลิกขวาที่ไฟล์ Boot.ini แล้วคลิก Properties ให้คลิกเช็คบ็อกซ์ Read-only ให้มีเครื่องหมายถูก เสร็จแล้วคลิก OK

ข้อควรระวัง
การแก้ไขไฟล์ Boot.ini ที่ผิดนั้นอาจทำให้มีปัญหาในการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

วิธีการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์เข้า Recovery Console จากแผ่นซีดีเซ็ตอัพวินโดวส์
วิธีการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์เข้า Recovery Console จากแผ่นซีดีเซ็ตอัพวินโดวส์ มีขั้นตอนการทำดังนี้

1. ให้ใส่แผ่นซีดีเซ็ตอัพวินโดวส์เข้าไดรฟ์ CD-ROM แล้วทำการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เลือกทำการบูตจาก CD เมื่อระบบถาม
2. เมื่อเริ่มต้นทำการติดตั้งในส่วน Text-based ให้เลือกอ็อปชันการ Repair ระบบโดยการกดปุ่ม R
3. ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นแบบ Dual-boot หรือ Multi-boot ให้เลือกระบบที่ต้องการ Repair
4. ใส่รหัสผ่าน (Password) ของ Administrator ของระบบที่ทำการ Repair เมื่อระบบถาม
5. ที่หน้าซีส์เต็มพร็อมพ์ ให้ทำการรันคำสั่งที่ต้องการโดยพิมพ์คำสั่งที่ต้องการเสร็จแล้วกด Enter
6. เสร็จแล้วพิมพ์ Exit กด Enter เพื่อออกจากโหมด Recovery Console

ในกรณีที่ได้ทำการติดตั้ง Recovery Console ไว้บนระบบแล้ว
1. ในระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สตาร์ทให้เลือกเป็นบูทเป็น Recovery Console
2. ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นแบบ Dual-boot หรือ Multi-boot ให้เลือกระบบที่ต้องการ Repair
3. ใส่รหัสผ่าน (Password) ของ Administrator ของระบบที่ทำการ Repair เมื่อระบบถาม
4. ในหน้าต่างคอมมานด์พร็อมพ์ให้พิมพ์คำสั่งที่ต้องการเสร็จแล้วกด Enter
5. หากต้องการออกจาก Recovery Console ให้พิมพ์คำสั่ง Exit แล้วกดปุ่ม Enter

ข้อควรระวัง
เนื่องจาก Recovery Console นั้น จะมีอำนาจการทำงานสูง เหมาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญหรือในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

© 2009 Thai PC Administrator, All Rights Reserved.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น